“เพชฌฆาตเงียบ” โรคความดัน อันตรายถึงชีวิต !!!!



สถานการณ์ของโรคความดันสูงทั่วโลกมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลกถึง 9.4 ล้านคน และยังพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลวได้ถึง 50% นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีประมาณ 4 ใน 10 คน เป็นโรคความดันสูง และในหลายประเทศยังพบอีกว่าประมาณ 1 ใน 5 คนเป็นกลุ่มเสี่ยงในโรคความดันสูง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก


(World Hypertension League) และสมาคมโรคความดันโลหิตสูงนานาชาติ (International Society of Hypertension) ได้กําหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้มากขึ้น

สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคความดันสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2550 พบอัตราผู้ป่วยในต่อประชากรแสนคนที่เข้ารับการรักษาโรคความดันสูงจาก 1,025.44 เพิ่มขึ้นเป็น 1,561.42 ในปี 2557 และมีอัตราการเสียชิวิตโรคนี้ต่อประชากรแสนคนเป็น 3.64 ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 10.95 ในปี 2557


อาการของโรคความดันสูง

โรคความดันสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ยังถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและบอกไม่ได้ชัดเจน หรือในบางรายทราบเมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันสูงขึ้นแล้ว ทำให้ต้องหมั่นมีการตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นฆาตกรเงียบ (Silent Killer) ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัว




สาเหตุของโรคความดันสูง

โรคความดันสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension) ซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการเกิดได้ 
ชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความดันสูงได้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคได้มากขึ้น
  • §      อายุ - อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะ      ช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป
  • §       เพศ - เพศชายมักพบในวัยกลางคนประมาณ 45 ปีขึ้นไป         เพศหญิงจะพบมากในช่วงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
  • §      พันธุกรรม  ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความดันสูงมีโอกาสเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มี   ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • §      อาหารโซเดียมสูงหรือโพแทสเซียมต่ำ - การรับประทานอาหารมีโซเดียมสูงจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น ในขณะที่อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยจะช่วยให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • §      เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน - ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้นเช่นกัน


  • §       การสูบบุหรี่หรือยาสูบ - สารพิษที่อยู่ในบุหรี่และยาสูบเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น รวมไปถึงทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตัน หัวใจจึงต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้จากควันบุหรี่ก็ได้รับผลเสียเช่นเดียวกับผู้ที่สูบ


  • §       ขาดการออกกำลังกาย - การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและขาดออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้หัวใจต้องใช้แรงดันเพิ่มมากขึ้น
  • §        โรคเรื้อรังบางชนิด - โรคประจำตัวบางชนิดอาจส่งผลต่อความดันโลหิตที่สูงมากขึ้น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีปัญหาด้านการนอน

             นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ความเครียดสะสม การดื่มแอลกอฮอล์เกินพอดี การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ

การวินิจฉัยโรคความดันสูง

แพทย์จะวินิจฉัยโรคความดันสูงโดยดูจากการวัดค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยเป็นหลัก และมีการตรวจวัดหลายครั้ง เพื่อความแม่นยำของผลการตรวจ ซึ่งค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะแบ่งออกเป็น 2 ค่า โดยตัวแรก (หรือตัวบน) เรียกว่า ค่าความดันซิสโตลิก (Systolic) เป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัวและตัวที่สอง (หรือตัวล่าง) เรียกว่า ค่าความดันไดแอสโทลิก (Diastolic) เป็นค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว โดยในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) สมาคมหัวใจของประเทศสหรัฐอเมริกา (American Heart Association: AHA) ได้ให้คำนิยามของโรคความดันสูงว่าเป็นภาวะที่ตรวจพบความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แต่หากวัดค่าความดันโลหิตได้ตั้งแต่ 120-129/น้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะก่อนความดันสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูงในอนาคต

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันสูง
หากปล่อยให้เกิดโรคความดันสูงเป็นระยะเวลานานและดูแลรักษาสุขภาพไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยมักจะพบโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแดง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสมองในด้านความจำ มีปัญหาทางด้านสายตา หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ก่อให้เกิดความเสียหายจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากโรคความดันสูงโดยตรงหรือโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง



การรักษาโรคความดันสูง
1.     แพทย์ทำตามคำแนะนำของแพทย์
2.    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารเบื้องต้น
3.  ลดอาหารประเภทโซเดียมสูง
4.  เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย
5. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง
6.  ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
7. ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. การใช้ยาร่วมด้วย เพื่อช่วยปรับค่าความดันโลหิตให้ลดลงอยู่ในระดับปกติ
                   ทั้งนี้การรักษายังต้องคำนึงถึงชนิดของโรคด้วย เพราะหากเป็นชนิดที่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมีโอกาสในการรักษาหายได้มากกว่าชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ

การป้องกันโรคความดันสูง
การควบคุมความดันโลหิตในระยะยาวสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
- เรื่องของการรับประทานอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นพื้นฐาน
- การหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อตรวจดูว่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

ข้อมูลจากwww.pobpad.com  และ โรงพยาบาลเวิดร์เมดิคอล 


ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้  ถ้าแย่แล้วจะแก้ไม่ทัน 

     น้ำดำมะรุม Moringo Black  ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ในเส้นเลือด ขับสารพาด้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความ แก่ และปรับฮอร์โมนในร่างกายวัยทอง สร้างภูมิต้านทานโรค และระบบย่อยอาหาร จึงทําให้อวัยวะสําคัญๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง ตับอ่อน และส่วนอื่นๆ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น ทําให้สภาพร่างกายที่กําลังเสื่อมสภาพแข็งแรง สามารถกลับมาทํางานได้เป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของการ เป็นโรค มะเร็ง หัวใจ ตับ ไต เบาหวาน อีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันแสงยูวีได้ ช่วยบําบัดผิวที่ อักเสบทําให้ผิวสดใสและขาวขึ้น  

Moringo Black  
1.  ระบบภูมิต้านทานโรคระบบย่อยอาหาร  
2. ระบบขับสารพิษ
3 . ระบบต่อต้านอนุมูลอิสระ 
4. ระบบเผาผลาญพลังงาน 
5. ระบบประสาท ระบบเลือด 
6. ระบบหัวใจ ฮอร์โมนวัยทอง

ระบบเลือด

ผลไม้   :   ช่วยกระตุ้นกําลัง สร้างความสดชื่น ช่วยลดความอ้วน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีสารเบต้า-แอโรพัน ช่วยไม่ให้ไขมัน                   จับที่ผนังหลอดเลือด ช่วยถอนพิษไข้ ไล่หวัด มีวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารฟลาไวนอยด์ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
                  ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
กระชายดํา :  บํารุงกําลัง บํารุงหัวใจ แก้ปวดข้อ ทําให้โลหิตไหลเวียนดี บํารุงสมรรถภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ
ฝรั่ง  :     ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีสารเบต้า-แอโรพัน ช่วยไม่ให้ ไขมันจับที่ผนังหลอดเลือด
พริก   :    ช่วยเพิ่มน้ําย่อย ทําให้โลหิตไหลเวียนดี
ดอกคําฝอย   :   แก้โรคความดัน บํารุงเลือด บํารุงหัวใจ ลดความอ้วน ลดไขมัน ขับเหงื่อช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดี
มะขาม   :  ฟอกโลหิต มีวิตามินซี
ถั่วแดง    :   บําบัดโรคเหน็บชา แก้บวมน้ํา ขับปัสสาวะ บํารุงประสาท บําบัดอาการใจสั่น บํารุงเลือด
น้ําองุ่น  : ช่วยล้างสารพิษและสร้างเม็ดเลือด บํารุงสายตา ป้องกัน โรคหวัด เลือดออกตามไรฟัน ป้องกันโรคมะเร็ง
มะนาว  :  แก้เสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต





วิธีดื่มน้ำดำมะรุม มอริงโก แบล็ค


เขย่าขวดก่อนดื่ม และดื่มน้ำตามมากๆ ทุกครั้ง ดื่มครั้งละ 25 มลก่อนอาหารเช้าและก่อนเข้านอนเนื่องจาก เป็นช่วงที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด
 คําแนะนํา หลังจากเปิดขวดแล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็น สามารถทานยาตามที่แพทย์สั่งได้ตามปกติ
น้ําดํามะรุม มอริงโก แบล็ค เป็นผลงานวิจัยของ
ดร.เพิ่มพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญระดับ ปริญญาเอกมหาวิทยาลัย โอกายามา ประเทศญี่ปุ่น อดีตหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน
ผลิตโดย:
 ..พี.เอ.เคบาล้านซ์ จํากัด 37 หมู่ .หล่มเก่า .หล่มเก่า .เพชรบูรณ์  67120
จัดจําหน่ายโดย:
บริษัท รมิตา เฮลธ์แอนด์บิวตี้ จํากัด 110  .งามวงศ์วาน 23 แยก.งามวงศ์วาน .เมือง .นนทบุรี 11000 
 โทร.02-589-6091 www.ramitabeauty.com

















หรือ แอด Line คลิ๊กที่ลิ้งนี้    https://line.me/R/ti/p/%40ramitathailand 
🏠 www.ramitabeauty.com 📞 โทร. 02-589-6091

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมุนไพรไทย ป้องกันโรคได้จริงหรือ?